การทดสอบกระถาง

โครงการย่อยที่ 2 : กิจกรรมที่ 1 การทดสอบต้นแบบกระถางเพาะต้นกล้าที่ทำวัสดุเหลือใช้จากเศษพืชต้นทานตะวัน
พืชที่ใช้ในการทดสอบคือดาวเรืองซึ่งเป็นไม้ดอกที่คนไทยนิยมปลูกกันมาก เนื่องจากเมล็ดมีขนาดใหญ่ปลูกง่าย งอกเร็ว ต้นโตเร็ว และแข็งแรงไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน ให้ดอกเร็ว ดอกดก มีหลายชนิดและหลายสี รูปทรงของดอกสวยงาม สีสันสดใส บานทนนานหลายวัน สามารถปักแจกันได้นาน 1-2 สัปดาห์ ให้ดอกในระยะเวลาสั้น คือ ประมาณ 60-70 วัน หลังปลูก ดังนั้นในการปลูกดาวเรืองสามารถกำหนดระยะเวลาการออกดอกให้ตรงกับเทศกาลสำคัญได้จึงมีผู้นิยมปลูก และใช้ดาวเรืองกันมาก นอกจากนี้ยังสามารถปลูกได้ตลอดปี และปลูกได้ทุกจังหวัดในประเทศไทย ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่ทำรายได้ให้กับผู้ปลูกสูง ในปัจจุบันการปลูกดาวเรืองนอกจากปลูกเพื่อตัดดอกขายแล้ว ยังนิยมปลูกในกระถางหรือถุงพลาสติก เพื่อประดับตกแต่งอาคารสถานที่ และปลูกเพื่อตัดดอกส่งโรงงานอาหารสัตว์อีกด้วย การเจริญเติบโตได้ทุกในสภาพดิน แต่เป็นพืชที่ต้องการดินร่วนหน้าดินไม่แน่นมีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำท่วมขังสภาพดินมีความชุ่มชื้นพอเหมาะ ไม่แห้งแล้ง การขยายพันธุ์จะใช้วิธีการเพาะหรือปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์เป็นหลัก ซึ่งอาจเพาะในกระบะหรือแปลงเพาะ ด้วยการผสมดินกับวัสดุเพาะ เช่น ปุ๋ยคอก ขุยมะพร้าว และขี้เถ้าแกลบ
โดยมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
1. เตรียมอุปกรณ์การทดลองที่ใช้ทดลองปลูก โดยมีอุปกรณ์ดังนี้
     1.1. เมล็ดพันธุ์ดาวเรือง
     1.2. พีทมอส (ใช้เป็นวัสดุเพาะเมล็ดและวัสดุย้ายกล้า)
     1.3. ตะกร้าเพาะเมล็ด
     1.4. ปากคีบ
     1.5. กระถางเพาะกล้าไม้จากเศษพืชต้นทานตะวัน ซึ่งมีส่วนประกอบของกระถางจากต้นทานตะวัน (S) มี 3 ระดับ คือ S1 = ต้นทานตะวัน 90 กรัม S2 = ต้นทานตะวัน 100 กรัม S3 = ต้นทานตะวัน 110 กรัม  และปริมาณของแป้งเปียก มี  5 ระดับ คือ  P1 = แป้งเปียก 120 กรัม P2 = แป้งเปียก 140 กรัม P3 = แป้งเปียก 160 กรัม P4 = แป้งเปียก 180 กรัม P5 = แป้งเปียก 200 กรัม
2. การวางแผนการทดลอง ได้มีการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design : CRD) ประกอบด้วย 15 treatments แบ่งเป็น treatment ละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 3 ต้น ดังนี้
     2.1. Treatment 1 ต้นทานตะวัน 90 กรัม : แป้งเปียก 120 กรัม
     2.2. Treatment 2 ต้นทานตะวัน 90 กรัม : แป้งเปียก 140 กรัม
     2.3. Treatment 3 ต้นทานตะวัน 90 กรัม : แป้งเปียก 160 กรัม
     2.4. Treatment 4 ต้นทานตะวัน 90 กรัม : แป้งเปียก 180 กรัม
     2.5. Treatment 5 ต้นทานตะวัน 90 กรัม : แป้งเปียก 200 กรัม
     2.6. Treatment 6 ต้นทานตะวัน 100 กรัม : แป้งเปียก 120 กรัม
     2.7. Treatment 7 ต้นทานตะวัน 100 กรัม : แป้งเปียก 140 กรัม
     2.8. Treatment 8 ต้นทานตะวัน 100 กรัม : แป้งเปียก 160 กรัม
     2.9. Treatment 9 ต้นทานตะวัน 100 กรัม : แป้งเปียก 180 กรัม
     2.10. Treatment 10 ต้นทานตะวัน 100 กรัม : แป้งเปียก 200 กรัม
     2.11. Treatment 11 ต้นทานตะวัน 110 กรัม : แป้งเปียก 120 กรัม
     2.12. Treatment 12 ต้นทานตะวัน 110 กรัม : แป้งเปียก 140 กรัม
     2.13. Treatment 13 ต้นทานตะวัน 110 กรัม : แป้งเปียก 160 กรัม
     2.14. Treatment 14 ต้นทานตะวัน 110 กรัม : แป้งเปียก 180 กรัม
     2.15. Treatment 15 ต้นทานตะวัน 110 กรัม : แป้งเปียก 200 กรัม
3. ออกแบบวิธีการทดลอง ดังนี้
     3.1. การเตรียมต้นกล้าดาวเรือง โดยมีการเตรียมดังนี้
            3.1.1. นำตะกร้าเพาะเมล็ดขนาด 22 x25 นิ้ว วางกระดาษหนังสือพิมพ์ที่พื้นและด้านข้างทั้งสี่ด้านของตะกร้า ใส่พีทมอสลงในตะกร้าความสูงประมาณ  2/3  ของตะกร้า  เกลี่ยหน้าวัสดุเพาะให้เรียบ ทำร่องเป็นแถวตามความยาวของตะกร้าให้ได้ 5 แถวโดยมีระยะห่างระหว่างแถวประมาณ  2-2.5 เซนติเมตร  นำเมล็ดดาวเรืองมาวางเรียงในแถว(ตามแนวนอน)  วางเมล็ดต่อเมล็ดเมื่อวางเมล็ดครบทุกแถวแล้ว กลบเมล็ดด้วยพีทมอสและกดพีทมอสอีกครั้งเพื่อให้สัมผัสกับเมล็ดที่เพาะ (ทำการเพาะ 2 ตะกร้า)  ปิดหน้าตะกร้าเพาะด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์  รดน้ำลงบนกระดาษหนังสือพิมพ์ด้วยบัวรดน้ำที่ให้ละอองฝอย  ให้น้ำซึมผ่านกระดาษลงไปหาเมล็ดที่เพาะ  รดน้ำทุกวันจนกระทั่งเมล็ดเริ่มงอก (ประมาณ 3-4 วัน)  เมื่อต้นกล้างอกขึ้นมาประมาณ  60 – 70% เปิดกระดาษหนังสือพิมพ์ออกและรดน้ำโดยตรงกับต้นกล้าที่งอก
            3.1.2. การย้ายกล้าดาวเรือง ในการย้ายกล้าดาวเรืองขณะที่เมล็ดงอกเฉพาะใบเลี้ยง (ประมาณ 7 วันหลังเพาะเมล็ด)  ลงในกระถางเพาะกล้าไม้จากเศษต้นทานตะวันโดยมีวัสดุปลูกในกระถางคือ พีทมอส อีก 10 วันหลังย้ายกล้าให้ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำสูตร 30-20-10 โดยการรดทางใบ ทำการเก็บข้อมูลครั้งที่ 1 และเก็บข้อมูลครั้งต่อไปทุก ๆ สัปดาห์อีก 3 ครั้ง คือวันที่กล้าดาวเรืองอายุ 17 24 และ 31 วันหลังย้ายกล้า
     3.2. วิธีการเก็บข้อมูล ได้มีการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตทางลำต้น (Vegetative growth ) ของดาวเรือง  โดยทำการบันทึกการเจริญเติบโตทุก 7 วัน (รวม 4 ครั้ง) คือเมื่อต้นกล้าดาวเรืองอายุ 17 24 31 และ 36  วันหลังเพาะเมล็ด ดังนี้ 
            3.2.1. บันทึกข้อมูลด้านการเจริญเติบโต โดยมีการบันทึกความสูงของลำต้น (เซนติเมตร) จำนวนใบ (คู่ใบ) ความกว้างใบ (เซนติเมตร) ความยาวใบ (เซนติเมตร) และความกว้างทรงพุ่ม (เซนติเมตร)
            3.2.2. บันทึกการเปลี่ยนแปลงของกระถาง โดยการสังเกตลักษณะต่างๆ ได้แก่ การคงตัวของกระถาง   การทรุดตัวของกระถาง การแตกหักของกระถาง และอื่นๆ 
4. บันทึกผลการทดลอง
     4.1. ผลการทดลองด้านการเจริญเติบโตของต้นกล้าดาวเรือง
การทดสอบการเจริญเติบโตของต้นกล้าดาวเรืองที่ปลูกในกระถางเพาะชำที่มีส่วนประกอบของต้นทานตะวันและแป้งเปียกอัตราส่วนต่างกัน 15 อัตราส่วน มีผลการเจริญเติบโตทางด้านความสูงของลำต้น จำนวนใบ (คู่ใบ) ความกว้างใบ ความยาวใบ และความกว้างทรงพุ่ม ของต้นกล้าดาวเรืองดังต่อไปนี้
            4.1.1. ผลการทดลองด้านความสูงของลำต้นพบว่า ดังแสดงผลข้อมูลในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ความสูงของต้นดาวเรืองที่ปลูกในกระถางเพาะชำที่มีส่วนประกอบของต้นทานตะวันและ
             แป้งเปียกอัตราส่วนที่แตกต่างกัน

จากตารางผลการทดลองด้านความสูงของลำต้นพบว่า

ผลการทดลองครั้งที่ 1 ความสูงของลำต้นดาวเรืองที่ปลูกในกระถางเพาะชำที่มีส่วนประกอบของต้นทานตะวันและแป้งเปียกอัตราส่วน 110:120 มีความสูง มากที่สุด คือ 2.09 เซนติเมตร แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับอัตราส่วน 90:160 อัตราส่วน 110:160 อัตราส่วน 90:200  อัตราส่วน 90:180 อัตราส่วน 110:140 และอัตราส่วน110:180 ตามลำดับ โดยมีความสูงลำต้นเฉลี่ย 2.03 1.86 1.71 1.72 1.67 และ 1.55 เซนติเมตร ตามลำดับ ในขณะที่กระถางเพาะชำที่มีส่วนประกอบของต้นทานตะวันและแป้งเปียก อัตราส่วน 100:160 และ 100:180 ความสูงของต้นดาวเรืองมีค่าน้อยกว่า treatment อื่นๆอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99% (p≤ 0.01)

ผลการทดลองครั้งที่ 2 ความสูงของลำต้นดาวเรืองที่ปลูกในกระถางเพาะชำที่มีส่วนประกอบของต้นทานตะวันและแป้งเปียกอัตราส่วน 90:160 มีมากที่สุด คือ 3.57 เซนติเมตร แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับอัตราส่วน 90:140 อัตราส่วน 110:200 อัตราส่วน 100:200  อัตราส่วน 90:180 อัตราส่วน 100:120 อัตราส่วน 110:120 อัตราส่วน 90:200 และอัตราส่วน 100:180 ตามลำดับ โดยมีความสูงลำต้น เฉลี่ย 3.44 3.00 2.78 2.77 2.72 2.72 2.57 และ 2.57 เซนติเมตร ตามลำดับ ในขณะที่กระถางเพาะชำที่มีส่วนประกอบของต้นทานตะวันและแป้งเปียก อัตราส่วน 90:120 ความสูงของต้นดาวเรืองมีค่าน้อยกว่า ความสูงของต้นดาวเรืองที่ปลูกในกระถางเพาะชำที่มีส่วนประกอบของต้นทานตะวันและแป้งเปียกอัตราส่วน 90:140 90:160 และ 110:200 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99% (p≤ 0.01) โดยมีความสูงลำต้นดาวเรือง 1.72 เซนติเมตร

ผลการทดลองครั้งที่ 3 ความสูงของลำต้นดาวเรืองที่ปลูกในกระถางเพาะชำที่มีส่วนประกอบของต้นทานตะวันและแป้งเปียกอัตราส่วน 110:200 มีมากที่สุด คือ 5.82 เซนติเมตร แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับอัตราส่วน 100:200 อัตราส่วน 110:120 อัตราส่วน 90:160  อัตราส่วน 90:140 อัตราส่วน 90:120 อัตราส่วน 100:120 และอัตราส่วน 100:180ตามลำดับ โดยมีความสูงลำต้น เฉลี่ย 5.63 5.62 5.53 5.42 4.97 4.93 และ 4.81 เซนติเมตร ตามลำดับ ในขณะที่กระถางเพาะชำที่มีส่วนประกอบของต้นทานตะวันและแป้งเปียก อัตราส่วน 90:200 ความสูงของต้นดาวเรืองมีค่าน้อยกว่า ความสูงของต้นดาวเรืองที่ปลูกในกระถางเพาะชำที่มีส่วนประกอบของต้นทานตะวันและแป้งเปียกอัตราส่วน 110:200 100:200 อัตราส่วน 110:120 90:160 90:140 และ 90:120 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99% (p≤ 0.01) โดยมีความสูงลำต้นดาวเรือง 3.81 เซนติเมตร

ผลการทดลองครั้งที่ 4 ความสูงของลำต้นดาวเรืองที่ปลูกในกระถางเพาะชำที่มีส่วนประกอบของต้นทานตะวันและแป้งเปียกในทุกอัตราส่วนมีความสูงไม่แตกต่างกันทางสถิติทุก treatment

4.2 สรุปผลการสังเกตลักษณะของกระถางหลังการย้ายกล้า
จากการสังเกตลักษณะของกระถางเพาะกล้าไม้จากเศษต้นทานตะวัน พบว่า กระถางเริ่มแสดงอาการผิดปกติในสัปดาห์ที่ 2 หลังย้ายปลูกต้นกล้าดาวเรือง โดยมีลักษณะกระถางบิ่นหัก มีรอยร้าวทรุดและเอียง มีผงเชื้อรารอบกระถาง และมีเชื้อราเป็นก้อนขาวบนกระถาง โดยพบว่ามีลักษณะกระถางที่มีรอยร้าวทรุดและเอียง และมีผงเชื้อรารอบกระถางมากกว่าลักษณะอื่น

ภาพที่ 1  ลักษณะกระถางหลังการย้ายกล้า 31 วัน (เก็บผลครั้งที่ 4)

S1P1 = ต้นทานตะวัน 90 กรัม : แป้งเปียก 120 กรัม  S1P2 = ต้นทานตะวัน 90 กรัม : แป้งเปียก 140 กรัม  S1P3 = ต้นทานตะวัน 90 กรัม : แป้งเปียก 160 กรัม  S1P4 = ต้นทานตะวัน 90 กรัม : แป้งเปียก 180 กรัม  S1P5 = ต้นทานตะวัน 90 กรัม : แป้งเปียก 200 กรัม  
S2P1 = ต้นทานตะวัน 100 กรัม : แป้งเปียก 120 กรัม  S2P2 = ต้นทานตะวัน 100 กรัม : แป้งเปียก 140 กรัม  S2P3 = ต้นทานตะวัน 100 กรัม : แป้งเปียก 160 กรัม  S2P4 = ต้นทานตะวัน 100 กรัม : แป้งเปียก 180 กรัม  S2P5 = ต้นทานตะวัน 100 กรัม : แป้งเปียก 200 กรัม  
S3P1 = ต้นทานตะวัน 110 กรัม : แป้งเปียก 120 กรัม  S3P2 = ต้นทานตะวัน 110 กรัม : แป้งเปียก 140 กรัม  S3P3 = ต้นทานตะวัน 110 กรัม : แป้งเปียก 160 กรัม  S3P4 = ต้นทานตะวัน 110 กรัม : แป้งเปียก 180 กรัม  S3P5 = ต้นทานตะวัน 110 กรัม : แป้งเปียก 200 กรัม  

5. สรุปผลการทดลอง
การศึกษาการเจริญเติบโตของต้นกล้าดาวเรืองในกระถางเพาะกล้าไม้จากเศษต้นทานตะวันที่มีส่วนผสมของต้นทานตะวันและแป้งเปียก 15 อัตราส่วน สามารถสรุปผลการทดลองได้ดังนี้ 
     5.1. การเจริญเติบโตของต้นกล้าดาวเรืองที่ปลูกในกระถางเพาะกล้าไม้ที่มีอัตราส่วนของต้นทานตะวันและแป้งเปียกที่อัตราส่วน 90:140 90:160 110:120 และ 110:200 มีการเจริญเติบโตทางลำต้น ได้แก่ ความสูงลำต้น จำนวนใบ (คู่ใบ) ความกว้างและความยาวใบ และความกว้างทรงพุ่ม สูงกว่าต้นดาวเรืองที่ปลูกในกระถางเพาะชำในอัตราส่วนอื่นๆ 
     5.2. การเปลี่ยนแปลงของกระถางเพาะกล้าไม้ โดยการสังเกตลักษณะต่างๆ ได้แก่ การคงตัวของกระถาง  การทรุดตัวของกระถาง การแตกหักของกระถาง และอื่นๆ พบว่า กระถางเพาะกล้าไม้ที่มีส่วนผสมทุกอัตราส่วนมีความผิดปกติสังเกตด้วยตาเปล่าได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 หลังย้ายปลูกต้นกล้าดาวเรือง โดยกระถางที่มีความคงตัว  จนถึงระยะเวลาสิ้นสุดการทดลอง (31 วันหลังย้ายกล้า) คือ กระถางที่มีอัตราส่วนของเศษต้นทานตะวันกับแป้งเปียกอัตราส่วน 90:160 กรัม และ อัตราส่วน 90:180 กรัม